วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การวิจารณ์ภาพยนตร์

ข้อมูลจากเว็บ
สรุป
เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของภาพยนตร์และสื่อภาพยนตร์ คำศัพท์นี้มักใช้สลับกับคำว่า 'การรีวิวภาพยนตร์' (film review) การรีวิวภาพยนตร์ มีความหมายแฝงถึงการแนะนำซึ่งมุ่งเป้าหมายที่ผู้บริโภค มักจะเขียนเชิงพรรณนาและตัดสินภาพยนตร์ใหม่เพียงเรื่องเดียว การวิจารณ์ภาพยนตร์ ไม่ได้มีรูปแบบของการรีวิว มักเป็นการวิเคราะห์ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาและเชื่อมโยงกับบริบทดั้งเดิม ความสำคัญและความหมายของภาพยนตร์ในเชิงคุณค่าและประสบการณ์จากการพัฒนาผ่านประเด็นหลักของภาพยนตร์ (เช่น แก่นเรื่อง การเล่าเรื่อง ตัวละคร) การเชื่อมโยงกับองค์ประกอบของภาพยนตร์ และการเชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรม 
โดยทั่วไปการวิจารณ์ภาพยนตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การวิจารณ์ทางสื่อมวลชนซึ่งมักปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อมวลชนอื่นที่เป็นที่นิยม และหนังสือ  และการวิจารณ์เชิงวิชาการโดยนักวิชาการที่มีการค้นคว้าทฤษฎีภาพยนตร์และตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ การวิจารณ์ภาพยนตร์เชิงวิชาการมักไม่ใช้รูปแบบของการรีวิว แต่มักจะวิเคราะห์ภาพยนตร์และแสดงมุมมองต่าง ๆ ในทางประวัติศาสตร์หรือภูมิหลังของภาพยนตร์ตามประเภทภาพยนตร์ (genre) นั้นๆ หรือประวัติของภาพยนตร์ของภาพยนตร์ทั้งหมด 

นักวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์

เว็บไซต์ อย่างเช่น รอตเทน โทเมโทส์ และ เมทาคริติก พยายามหาวิธีใช้ประโยชน์ของการรีวิวภาพยนตร์โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง ประมวลแหล่งข้อมูล และกำหนดวิธีให้คะแนนเพื่อวัดการรับรู้ภาพยนตร์ที่ได้รับผ่านทางออนไลน์ 
บล็อกได้เปิดโอกาสให้แก่นักวิจารณ์สมัครเล่นคลื่นลูกใหม่ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ บล็อกที่รีวิวภาพยนตร์อาจมุ่งเน้นเฉพาะประเภทภาพยนตร์ ผู้กำกับ นักแสดง หรือเฉพาะภาพยนตร์ในหมวดหมู่ที่สนใจ เพื่อน เพื่อนของเพื่อน หรือผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมบล็อกและมักจะให้ความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับภาพยนตร์ และ/หรือความเห็นต่อผู้เขียนรีวิว เว็บไซต์ประเภทรีวิวนี้สามารถรวมกลุ่มคนที่มีความคิดแนวเดียวกันเข้ามาหาบล็อกเพื่อที่จะติดตามนักวิจารณ์ที่มีแนวโน้มการวิจารณ์ที่คล้ายคลึงกับของตน ผลสำรวจของไทยในปี พ.ศ. 2557 พบว่า บล็อกเป็นพื้นที่ที่มีนักวิจารณ์ภาพยนตร์มากที่สุดในบรรดาสื่อออนไลน์ทั้งหมด ตัวอย่างของบล็อกนักวิจารณ์ภาพยนตร์ไทย ได้แก่  บล็อกแก๊งและบล็อกกาซีน ประชาไทกำรสร้างบทวิจารณ์ไทยที่เน้นคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์นั้นยังมีน้อยมำก บล็อกเป็นพื้นที่สำคัญในกำรสร้างงานวิจารณ์ภาพยนตร์ของไทย นอกจากนี้ YouTube ยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับนักวิจารณ์ภาพยนตร์สมัครเล่นได้ด้วย
บางเว็บไซต์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรีวิวหรือแนะนำภาพยนตร์ ตัวอย่างเช่น การให้ตำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการตัดสินความเหมาะสมของภาพยนตร์สำหรับเด็ก มีเว็บไซต์ที่มุ่งให้ความสำคัญในมุมมองทางศาสนา (เช่น CAP Alert) บางเว็บไซต์ยังเน้นเฉพาะเรื่องเชิงลึก เช่น วิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์ประเภทนวนิยาย บางเว็บไซต์ก็รีวิวเชิงลึกโดยบุคคลอิสระที่ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ บางแห่งห้ามโฆษณาและให้ความคิดเห็นทีตรงไปตรงมาโดยไม่มีผลประโยชน์ตอบแทนทางการค้า นักวิจารณ์ภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะมีพื้นฐานการศึกษทางด้านภาพยนตร์ [8]
สมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์ (Online Film Critics Society) เป็นสมาคมนานาชาติของสายอาชีพนักวิจารณ์ภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยนักเขียนจากทั่วโลก  ส่วนชมรมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์แห่งนิวยอร์ก (New York Film Critics Online) จัดการความคิดเห็นและการรีวิวภาพยนตร์โดยนักวิจารณ์เฉพาะในพื้นที่ของรัฐนิวยอร์กและใกล้เคียง 3 รัฐ 

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C








วีดีโอสัมภาษณ์




ผู้สัมภาษณ์ : วันนี้จะมาสัมภาษณ์เรื่องการวิจารณ์หนัง ข้อแรกภาพยนตร์เรื่องใดที่ชิ่นชอบมากที่สุดและชื่นชอบเพราะอะไร ผู้ให้สัมภาษณ์ : ชอบภาพยนตร์เรื่อง the conjuring โดยส่วนตัวชอบหนังของผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ James wan อยู่แล้วเรื่อง the conjuring น่าจะเป็นเรื่องแรกๆเลยที่ผู้กำกับเจมวานเอามาทำจากเรื่องจริงค่ะ ผู้สัมภาษณ์ : ข้อที่สองเทคนิคการถ่ายทำของเรื่องที่ชอบมีจุดเด่นยังไงถึงทำให้เราชอบ ผู้ให้สัมภาษณ์ : จุดเด่นของภาพยนตร์เรื่องนี้ เท่าที่ดูมาคือการถ่ายทำจะค่อนข้างน่าสนใจตรงที่ว่าเค้าใช้หลักในการที่เล่นกับตัวละครที่เรามองไม่เห็นซึ่งในหนังผีเค้าจะเล่นเน้นภาพกว้างใช่ไหมคะแต่ว่าเพราะเวลาคนดูที่เน้นภาพกว้างจะทำให้คนดูไม่รู้ว่าผีจะออกมาตอนไหนแต่ถ้าเล่นภาพแคบคนดูจะไม่ค่อยกลัวแต่เรื่องเค้าเล่นภาพแคบเยอะมากแต่เล่นกับอารมณ์คนดูได้ก็เลยชอบค่ะ ผู้สัมภาษณ์ : ข้อที่สามการเขียนบทของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นยังไงบ้าง ผู้ให้สัมภาษณ์ : ดีมาก น่าจะเพราะมันทำมาจากเรื่องตริงด้วยเลยรู้สึกว่าบทเค้าดีมากๆเค้าไม่ได้ทำให้คนรู้สึกว่าเกินจริงเลยแต่ว่าทำให้คนดูคิดว่าเรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นจริงๆสักมุมใดมุมหนึ่งของโลกก็ได้ ผู้สัมภาษณ์ : ข้อต่อไป ฉากของถาพยนตร์มีผลต่อองค์ประกอบของเรื่องยังไงบ้างหรือว่ามันเด่น สวย ถูกใจยังไงบ้าง ผู้ให้สัมภาษณ์ : พวกเซ็ตหลักๆของภาพยนตร์เรื่องนี้หลักๆจะอยู่ที่บ้านซึ่งทันถูกปูมาว่าเป็นบ้านที่เคยมีเจ้าของอยู่แล้วและครอบครัวนี้มาซื้อบ้านหลังนี้ต่อ เรามองว่ามันเซ็ตได้ดีเพราะของบางอย่างมันดูเก่าจริงๆและน่าเชื่อว่ามีคนอยู่ที่นี้มาก่อนแล้วจริงๆ ผู้สัมภาษณ์ : จุดเด่นของการตัดต่อหรือการจัดแสงของเรื่องมีจุดเด่นยังไง ผู้ให้สัมภาษณ์ : เค้าเล่นกับเฉดเงาได้ค่อยข้างดีมากแล้วมันดูเรียวมันไม่ได้ดูเวอร์ตที่ว่าซีนนี้มันจะต้องสีอย่างนู้นอย่างนี้คือแบบว่าเค้าใช้สี ฟ้าก็ฟ้า ส้มก็ส้ม ขาวก็ขาว ชัดเจนดีไม่หลอกคนส่วนเรื่องการตัดต่อหนังเจมวานก็ตัดต่อดีทุกเรื่องก็เลยไม่รู้ส่าจะเป็นจุดเด่นยังไงเพราะว่าหนังของเจมวานก็มีความเป็นเอกลักษณ์อยู่แล้ว

ความรู้ที่ได้จากการสัมภาษณ์
- ได้รู้ว่าความคิดของผู้รับชมหนังมีความแตกต่างกันออกไป
- รู้มุมมองในหนังที่เราอาจจะมองข้ามไป
- ได้รู้ว่าทฤษฏีการวิจารณ์มีความหลากหลายแล้วแต่ผู้วิจารณ์

ผู้ให้สัมภาษณ์ : นางสาวหยาดนภา นาคประสิทธิ์ เคลลี่
: นายธัชกร รักษ์ศิลปะดี
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาภาพยนตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต
วันที่สัมภาษณ์ : 1 พฤศจิกายน 2561
creative common :
  • อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน (CC-BY-SA)


แนะนำหนังสือ









การวิจารณ์ภาพยนตร์ 
 เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นบทความวิชาการว่าด้วยการสำรวจแนวคิดทฤษฏีและการศึกษาวิจัยทางภาพยนตร์โดยการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ขแงแนวคิดทฤษฏี การวิจัยการวิจารณ์ในบริบทภาพยนตร์ บางแนวคิดทฤษฏีเป็นแนวคิดทฤษฏีที่มีชื่อเสียงและถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในขอบเขตภาพยนตร์ศึกษา เช่น ทฤษฏีประพัรธกร แต่บางแนวคิดอย่างเช่นการสื่อสารที่อาศัยบริบทมากและการสื่อสารที่อาศัยบริบทน้อย เป็นแนวคิดที่ไม่พบว่ามีการนำไปใช้ศึกษาและวิจารณ์ภาพยนตร์จนอาจจะกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นเล่มแรกที่นำแนวคิดดังกล่าวมาศึกษาภาพยนตร์ รวมถึงเสนอแง่มุมด้านงานวิจารณ์ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงให้น้ำหนักและพื้นที่กับแนวคิดนี้มากเป็นพิเศษ ส่วนที่สองเป็นการรวบรวมบทความและบทวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ โดยพยายามคัดเลือกบางบทความหรือบทวิจารณ์ที่สะท้อนให้เห็นหลักหรือแนวทางตลอดจนแนวคิดทฤษฏีที่อยู่เบื้องหลังทั้งในด้านตัดสินคุณค่าและในด้านการวิเคราะห์ในอาณาจักรการวิจารณ์ภาพยนตร์ การวิจารณ์แนวประพันธกรเป็นแนวทางการวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแนวทางหนึ่งซึ่งมีการนำมาใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะหฺวิจารณ์ภาพยนตร์เป็นเวลานานกว่า4ทศวรรษ อย่างไรก็ตามบทความเรื่องนี้ไม่ได้ประสงค์เพียงแค่นำเสนอแนวทางการวิจารณ์แนวทางหนึ่งเท่านั้นหากแต่ยังมีจุดมุ่งหมายในการชี้ให้เห็นว่าแนวทางการวิจารณ์ภาพยนตร์สามารถนำไปสู่แนวทางการศึกษาวิจัยทางด้านภาพยนตร์และสื่อมวงชนประเภทอื่นได้อีกด้วยในตำราว่าด้วยการสื่อสารมวลชนได้บรรยายว่าผู้ส่งสารหรือผู้สร้างสารในงานสื่อสารมวลชนมีลักษณะสำคัญหลายอย่างเช่นเป็นองค์กรที่มีคสามสลับซับซ้อนแบ่งเป็นหลายฝ่ายเมื่อพิจารณาสื่อภาพยนตร์ก็จะเห็นลักษณะที่สอดคล้องกับบรรยายในตำราคือผู้ส่งสารหรือผู้สร้างสารทางด้านภาพยนตร์ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย อาทิ ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ คนเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับภาพและผู้ลำดับภาพแลพนักแสดงแต่ตามสายตาของนักทฤษฏีประพันธกรผู้ส่งสารหรือผู้สร้างสารมีเพียงตำแหน่งเดียวคือผู้กำกับภาพยนตร์ ภาพยนตร์เป็นงานสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะตัวและเป็นพิเศษความคาดหวังต่อการศึกษาภาพยนตร์จึงมิได้อยู่เพียงแค่ลึกซึ้งและหลากหลายปนะเด็นหรือหัวช้อการศึกษาของผลงานในด้านภาพยนตร์เพื่อที่นักวิจารณ์จะได้มีทฤษฎีข้อเปรียบเทียบเพื่อผลงานของการวิจารณ์ที่มีคุณภาพ




แนะนำตัวเอง
ชื่อนางสาว อริสรา อินทรสถิต ชื่อเล่น บีม รหัสนักศึกษา 5904654 ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ชั้นปีที่ 3 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ดิจิทัล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรังสิต  วันเกิด 2 เมษายน 2541 บ้านเกิดอยู่ที่ จังหวัด สมุทรปราการ งานอดิเรกชอบดูหนัง สัตว์ที่ชอบ สุนัข อาหารที่ชอบกินมากที่สุด อาหารทะเล กีฬาที่ชอบว่ายน้ำ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิจารณ์ภาพยนตร์

ข้อมูลจากเว็บ สรุป เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของ ภาพยนตร์ และ สื่อภาพยนตร์  คำศัพท์นี้มักใช้สลับกับคำว่า 'การรีวิวภาพยนตร์'...